แมวดำในห้องมืด

สุภาษิตเก่าแก่บทหนึ่งบอกว่า-เป็นเรื่องยากที่จะหาแมวสีดำในห้องมืดพบ,

ฟังแค่นี้ หลายคนคงนึกตามว่า การหาแมวสีดำในห้องมืดนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยจริงๆ เพราะแมวนั้นปราดเปรียว หากไม่อยู่ในอารมณ์จะเคล้าแข้งเคล้าขา มันจะวิ่งหนีปรู๊ดปร๊าดหายไป ความมืดทำให้เราไม่รู้เลยว่ามันอยู่ตรงไหน และเป็นไปได้อย่างยิ่ง ที่มันจะไม่ได้นอนหลับนิ่งๆอยู่กับที่

ดังนั้น จึงมีโอกาสมากทีเดียว ที่เราจะใช้เวลาเท่ากับนิรันดร…ในการตามหาแมวสีดำตัวนั้นในห้องมืดจนพบ

แต่กระนั้น สุภาษิตบทนั้นก็ไม่ได้จบลงเพียงนั้น

มันยังมีต่อไปอีกนิด-ว่า,

…โดยเฉพาะเมื่อไม่ได้มีมีแมวอยู่ในห้องนั้น…

เมื่อได้ยินสุภาษิตบทนี้ครั้งแรกในหนังสือชื่อ Ignorance : How it Drives Science ของ Stuart Firestein ผมอดนึกขำอยู่ในใจไม่ได้ว่า มันช่างเป็นสุภาษิตที่ ‘หลอกลวง’ อะไรเช่นนั้น

Read More…

Sapiens : เรื่องของสัตว์ที่กลายเป็นพระเจ้า

Sapiens คือหนังสือที่ทะเยอทะยาน มันบอกเล่าเรื่องราวของมนุษย์ตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบัน ตั้งแต่กำเนิดมนุษย์ การดิ้นรนต่อสู้ ความขัดแย้ง การร่วมมือ ความรุ่งเรืองเฟื่องฟู ฯลฯ โดยพยายามรวบรวมทุกมิติแง่มุมแห่งชีวิตเอาไว้ เพื่อสำรวจย้อนกลับ เพื่อตอบคำถามว่า-ทำไมเราถึงอยู่ ‘ที่นี่’ บนโลกใบนี้ได้ยาวนานขนาดนี้

Read More…

วิทยาศาสตร์ของความหัวร้อน : โกรธอย่างไรให้พอดี

ความโกรธไม่ใช่เรื่องที่จู่ๆ ก็จะเกิดขึ้นนะครับ แต่มันเป็น ‘ปฏิกิริยาตอบสนอง’ (Reaction) จากสิ่งเร้าอะไรบางอย่างที่ทำให้เกิดความรู้สึกไม่สบายใจ (Frustration) ตามด้วยความโกรธซึ่งอาจจะคุกรุ่นอยู่ข้างใน ก่อนระเบิดออกมาเป็นความก้าวร้าวรุนแรง ดังนั้นจึงแบ่งได้เป็นสามเฟสด้วยกัน คือ Frustrated –> Anger –> Aggression

ความโกรธไม่ได้มีแต่ข้อเสียอย่างเดียว แต่ความโกรธในระดับที่พอดีๆ มีประโยชน์ของมันด้วยเหมือนกัน

Read More…

A Bug’s Brain แมลงมีสมองหรือเปล่า

เกณฑ์หนึ่งที่คาร์ล ลินเนียส ใช้จำแนกสัตว์ในกลุ่มแมลงหรือ Insecta ก็คือ สัตว์กลุ่มนี้ไม่มีสมอง

กอมเต เดอ บูฟอง (Comte de Buffon) นักธรรมชาติวิทยาฝรั่งเศสในยุคศตวรรษที่ 18 เคยเขียนถึงแมลงหลายชนิดว่า ถ้าถูกตัดหัวออก มันก็จะยังมีชีวิต วิ่ง บิน หรือแม้แต่มีเซ็กซ์ได้เหมือนปกติ แมลงวันทอง (Drosophila Flies) ถึงกับมีชีวิตอยู่ได้อีกตั้งหลายวันอย่างปกติธรรมดาที่สุด ทั้งที่ไม่มีหัว และตั๊กแตน (Mantis) เวลาถูกตัดหัวออก มันจะแสดงอาการอยากสืบพันธุ์ด้วยการเต้นรำแบบเกี้ยวพานด้วยซ้ำ

แต่แมลงไม่มีสมองจริงหรือ?

Read More…

วิทยาศาสตร์แห่งความขี้เกียจ : อะไรทำให้เราเกียจคร้าน

ทำไมบางคนถึงแลดู ‘ขี้เกียจ’ มากกว่าคนอื่น แต่บางคนก็ขี้เกียจน้อยกว่า แล้วไอ้เจ้าความรู้สึกแสนสบายเวลาไม่ได้ทำอะไรเลยนั้นน่ะ ทำไมเราถึงรู้สึกอย่างนั้น มีกลไกหรือกระบวนการอะไรเกิดขึ้นสมองของเราหรือเปล่า ถึงทำให้เรารู้สึกความขี้เกียจเป็นความรู้สึกสุดยอดอย่างหนึ่งของการมีชีวิตอยู่

มีการศึกษาวิจัยเยอะมากนะครับ ที่บอกว่าความขี้เกียจ (ซึ่งเป็นด้านตรงข้ามกับการออกกำลังกาย) เป็นเรื่องที่ ‘ฝัง’ อยู่ในยีนของเราเลย

Read More…

ประวัติศาสตร์ของสีดำ

สีดำคือสีที่ดูดซับคลื่นแสงทุกอย่างเข้าไปไว้ในตัว ไม่ปลดปล่อยแสงสีใดๆ ออกมาเลย แต่ในโลกจริงมักไม่มีอะไรสมบูรณ์แบบ สีดำก็เช่นเดียวกัน ทุกสีดำที่เราเห็นๆ กันอยู่ มันไม่ได้ ‘ดำจริง’ หรอกนะครับ ไม่ว่าจะดำมากแค่ไหน สีดำก็สะท้อนแสงออกมาเล็กน้อยทั้งนั้น

วัสดที่ดำที่สุดในโลก เป็นวัสดุที่นักวิทยาศาสตร์จากสถาบัน Rensselaer Polytechnic แห่งนิวยอร์ค สร้างขึ้นมาเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2008 มันเป็นวัสดุสีดำที่สะท้อนแสงออกมาเพียง 0.045% (หรือดูดซับแสงได้ 99.965%) ซึ่งถือว่าสะท้อนแสงน้อยที่สุดเท่าที่เคยมีมา วัสดุนั้นทำจากเส้นใยคาร์บอนจิ๋วที่เรียกว่าคาร์บอนนาโนทิวบ์ ทำให้มันมีสีดำกว่าค่าสีดำมาตรฐานถึง 30 เท่า วัสดุนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Vantablack หรือ Vertically Aligned Carbon Nanotube Arrays 

Read More…

ถ้าเราไม่มีความทรงจำเหลืออยู่เลย ชีวิตจะเป็นอย่างไร

ในทางวิทยาศาสตร์ ถ้าเราไม่มีความทรงจำเหลืออยู่เลย ชีวิตจะเป็นอย่างไร

ความทรงจำดูคล้ายเป็นเรื่องธรรมชาติ คล้ายกับมันเกิดขึ้นได้เอง แฝงฝังอยู่ในสมองของเรา แล้วผุดขึ้นมาให้เรารับรู้เมื่อเราเรียกร้องต้องการ

แต่ความทรงจำเป็นเช่นนั้นเสมอไปจริงหรือ?

Read More…

หมากับแมว ใครฉลาดกว่ากัน

หมาและแมวไม่เคยรู้เรื่องด้วย ว่าพวกมันได้กลายเป็นหัวข้อถกเถียงของมนุษย์ตลอดมา ว่าระหว่างหมากับแมว ใครมีสติปัญญาฉลาดเฉลียวมากกว่ากัน

Read More…

ปรสิตควบคุมจิต

การควบคุม ‘จิต’ ของสิ่งมีชีวิตอื่น เป็นเรื่องที่ไม่ได้มีแต่ในนิยายวิทยาศาสตร์นะครับ แต่มันมีอยู่จริงๆ

ที่สำคัญ ตัวการที่ควบคุมจิตมนุษย์ อาจอยู่ใกล้ตัวคุณอย่างคิดไม่ถึงด้วย!

Read More…

ไม่เชื่ออย่าลบหลู่ : ความเป็นวิทยาศาสตร์ของไสยศาสตร์

ทำไมนักวิทยาศาสตร์ระดับโลกหลายคนจึงเชื่อเรื่องที่แลดู ‘เหนือธรรมชาติ’

ทำไมนักการเมืองหรือนักกีฬาบางคนจึงมี ‘พิธีกรรม’ บางอย่างที่ทำให้ตัวเชื่อว่าจะชนะ

อะไรคือความเป็นวิทยาศาสตร์ของความเชื่อแบบไสยศาสตร์

Read More…

8 Science Dilemmas : ภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกทางวิทยาศาสตร์

วิทยาศาสตร์ย่อมก้าวหน้าไปเรื่อยๆ แต่ในความก้าวหน้านั้น หลายครั้งก็เกิดความขัดแย้งในตัวเองขึ้นมาอย่างที่ฝรั่งเรียกว่า Dilemmas
ทุกปี หลายสำนักจะมีการประมวล ‘ภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก’ ทางวิทยาศาสตร์ ว่ามีความก้าวหน้าไหนบ้างที่ก็ฟังดูดี (หรือในอนาคตอาจจำเป็นต้องทำ) แต่ว่ามีเงื่อนไขอะไรบางอย่างที่ก่อให้เกิดความพิพักพิพ่วนกระอักกระอ่วน เอ…จะอ้าแขนรับเทคโนโลยีนี้ดีหรือไม่ดีกันนะ 
อ่านๆ แล้ว ผมเลยลองประมวลในประมวลเอามาฝากคุณอีกทีหนึ่ง มาดูกันว่า 8 เรื่องกลืนไม่เข้าคายไม่ออกทางวิทยาศาสตร์ที่น่าสนใจ มันมีอะไรบ้าง

Read More…

เรื่องของเสี้ยววินาที

คุณเคยคิดถึงระยะเวลาเสี้ยววินาทีบ้างไหมครับ

เสี้ยววินาทีที่นักวิ่งคนนั้นยื่นหน้าอกไปแตะเส้นชัยก่อนนักวิ่งอีกคนหนึ่ง เสี้ยววินาทีเล็กๆที่ม้าแข่งพุ่งทะยานเข้าเส้นชัย เสี้ยววินาทีที่น้ำหยดกระทบพื้น
เสี้ยววินาทีสำคัญอย่างไรกับนักวิทยาศาสตร์บ้าง?

Read More…