10 เล่มแห่งเฮอร์มานน์ เฮสเส : หนังสือแห่งศตวรรษที่ต้องอ่าน

เฮอร์มานน์ เฮสเส คือนักเขียนชาวเยอรมันผู้ยิ่งใหญ่ เขาได้รับรางวัลโนเบลในปี 1946

หลายคนรู้จักเขาจากงานอย่าง ‘สิทธารถะ’ ที่ผสานร้อยปรัชญาตะวันออกกับแนวคิดตะวันตกเข้าด้วยกัน

แต่คนรุ่นใหม่อีกจำนวนมาก ก็รู้จักเขาจาก ‘เดเมียน’ เพราะแท็ก #นัมจุนอ่าน จากเกาหลี ที่พัดพาเหล่าชาว ‘อาร์มี่’ ให้หันเหมาสู่วรรณกรรมสำคัญระดับโลกของเฮอร์มานน์ เฮสเส

Read More…

ซามูไรสีม่วง : ความรักสีอะไร?

เรื่องราวของซามูไรและเด็กหนุ่มสามัญ เรื่องต้องห้ามสองชั้น ทั้งเรื่องเพศและชนชั้น
แน่นอน เรื่องนี้ไม่ได้จบลงอย่างแสนสุข แต่ทิ้งร่องรอยเอาไว้ให้คนรุ่นหลังได้สืบสาวและครุ่นคำนึงถึงความเจ็บปวดของพวกเขา

Read More…

ทำไมการเล่นเกมถึงสำคัญต่อ ‘เด็กสมัยนี้’

สมัยก่อนโน้น การอ่านหนังสือเป็นเรื่องไม่ค่อยดี เพราะพวกผู้ใหญ่ชอบเห็นว่านั่นคือ-เรื่องประโลมโลกย์ อ่านไปก็ไม่ได้ประโยชน์ สิ่งที่เป็น ‘ประโยชน์’ กว่ามาก คือการลุกขึ้นมาทำงานบ้าน พับถุงขาย ตัดต้นไม้ พับใบตองเป็นกระทง หรือไปฆ่าไก่เอามาแกง

แต่โลกไม่ได้เป็นอย่างนั้นอีกต่อไปแล้ว

Read More…

มีดคมเท่าไหร่ ก็ยิ่งเสียน้ำตาน้อยลงเท่านั้น

หนังสือเล่มนี้ไม่ได้มีแต่เรื่องเชฟ อาหาร ซูเฟล่ กีบหมู พายชั้น แกะย่าง ถั่วขาว ซุปผัก ซอสมะเขือเทศ ปลากะพงแดง หรืออะไรอื่นๆที่เป็นเรื่องอาหารการกินเท่านั้น เพราะนี่คือ ‘ชีวิตจริง’ ของผู้เขียน ซึ่งจริงๆแล้วเป็นคนอเมริกัน แต่ไปทำงานอยู่ที่ลอนดอน จากนั้นก็บินมาเรียนต่อที่ปารีส เธอจึงต้องเรียนรู้อะไรมากมาย
การเรียนรู้ในเรื่องเหล่านี้ช่วยให้เราผู้อ่านเข้าใจความเป็นฝรั่งเศสได้โดยไม่ต้องไปฝรั่งเศส เรียกว่าเป็น Armchair Traveler ได้เลยทีเดียว

Read More…

อ่อนหวานในอักษร บนทุ่งหญ้าสีน้ำเงิน

มาวิเป็น ‘เด็กในดง’ ที่ถูกเสียงเพรียกแห่งการศึกษารั้งตัวเขาเข้าเมือง เขาตามมันไปชั่วระยะหนึ่ง ก่อนจะรู้ว่าตนเองต้องการอะไร และมันช่างเศร้า ที่เรารู้จักตัวเอง เพราะใครๆก็คิดว่า สิ่งที่ดีกว่าสำหรับชีวิตล้วนรั้งรออยู่ในเมืองใหญ่ อยู่ในฐานะร่ำรวย อยู่ในการเป็นเจ้าคนนายคน
แต่มาวิไม่คิดอย่างนั้น เขารู้ว่าเมืองนำอะไรมาให้บ้าง

Read More…

ทำไมเด็กสมัยนี้ถึงเป็นแบบนี้นะ

ก่อนหน้านี้ มนุษย์หาความรู้ ความงาม และความจริง จากการอ่านหนังสือ แต่ในโลกปัจจุบันนี้ ประมาณกันว่า 90% ของข้อมูลทั้งหมดที่มนุษย์เคยสร้างมา ถูกสร้างขึ้นในช่วง 3 ปีหลัง ดังนั้น ข้อมูลมหาศาลจึงไม่ได้ถูกเก็บอยู่ในรูปของ ‘หนังสือ’ อีกต่อไป
เลิกค่อนแคะได้แล้วว่าคนยุคใหม่อยู่ในสังคมก้มหน้า เพราะเมื่อพวกเขาก้มหน้า พวกเขาเห็น ‘โลก’ อยู่ในนั้น 
เป็นการเงยหน้าขึ้นสนทนากับผู้อาวุโสและคนรอบข้างต่างหาก – ที่ตีกรอบจำกัดให้พวกเขาอยู่ในโลกที่ ‘แคบ’ ลง

Read More…

เขียนให้แข็งแรง

เป็นไปได้ไหม ที่ตัวหนังสือของคนที่เพิ่งหัดเขียนหนังสือ จะมีความมหัศจรรย์บางอย่างอยู่ในนั้น

Read More…

สอนชีวิตด้วยชีวประวัติ

‘เกิดเป็นคนใต้’ ของ อาจารย์ล้อม เพ็งแก้ว เป็นอัตชีวประวัติ ท่านเล่าเรื่องเหมือนผู้ใหญ่เล่าให้เด็กๆที่กำลังนั่งล้อมวงอยู่บนนอกชานฟังด้วยเรื่องราวในชีวิตของท่าน ซึ่งไม่ได้เป็นเพียงความทรงจำและความเป็นมา ทว่าด้วยความเป็นปราชญ์ ท่านได้แทรก ‘ความรู้’ ปนเข้าไปในเนื้อหาชนิดที่ผมอยากเรียกว่า ‘มหาศาล’ ด้วย

Read More…

ตากับยาย และหนังสือของคชสาร

หนังสือชื่อ Journey of a Little Elephant : การเดินทางของคชสาร โดย คชสาร ตั้งยามอรุณ เป็นหนังสือเล่มเล็กๆ บรรจุอยู่ด้วยความเรียงน่าอ่านหลายเรื่อง แนมไปกับการ์ตูนสามสี่ช่องจบฝีมือผู้เขียน เป็นเรื่องราวอันอ่อนโยน ช่างคิด ละเอียดละออกับการมองโลกและชีวิต แม้คชสารบอกว่าจะไม่เขียนหนังสืออีกแล้ว แต่ครั้งใดที่นึกถึงความอบอุ่นในวัยเด็ก ผมจะนึกถึงหนังสือของเขาเสมอ

Read More…

จักรวาลในห้องนั่งเล่น

คำว่า Living Room อาจแปลได้อีกความหมายหนึ่งว่า ‘ห้องที่กำลังมีชีวิต’

การ ‘ใช้ชีวิต’ ในห้องนั่งเล่นนั้น สัมพันธ์เชื่อมโยงกับโลกภายนอกมากมาย แม้เมื่อเราอยู่ในห้องนั่งเล่น หนังสือก็ยังพาเราออกสู่โลกภายนอก เช่นเดียวกับดนตรีที่พาเราไปไกลแสนไกล ในโลกที่เราไม่รู้จัก

Read More…