จากสมุนไพรถึงการเจาะกะโหลก: การแพทย์ยุคโบราณ

มนุษย์มีวิธีรักษาตัวให้อยู่รอดปลอดภัยจากโรคภัยและอาการบาดเจ็บต่างๆ มานานแล้ว

หลายคนอาจนึกถึงการใช้สมุนไพรรักษาตัว แต่เชื่อไหมว่านอกจากสมุนไพรแล้ว ยังมีหลักฐานว่ามนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์เคย ‘ผ่าตัดสมอง’ ด้วย

Read More…

ประวัติศาสตร์กระสุนยาง

กระสุนยางหรือ Rubber Bullets นั้น ถือเป็นยุทโธปกรณ์ประเภทที่เรียกว่า Nonlethal คือมีเป้าหมายใช้แล้วไม่ได้ร้ายแรงทำให้ใครถึงตาย หรืออย่างน้อยก็มีจุดมุ่งหมายที่จะไม่ได้ ‘สังหาร’ ใคร

แต่มันไม่ค่อยจะเป็นอย่างนั้นสักเท่าไหร่

Read More…

ศาสตร์แห่งการพินิจอึ

ศาสตร์แห่งการ ‘พินิจอึ’ นั้น มีชื่อเรียกเพราะๆ หลายชื่อนะครับ เช่น Scatomancy, Spatalomancy, Copromancy หรือ Spatilomancy ซึ่งไม่ใช่ของใหม่ แต่เป็นศาสตร์เก่าแก่ ไม่ว่าจะเป็นจีนโบราณ กรีกโบราณ หรือกระทั่งอียิปต์โบราณ ก็มี ‘ศาสตร์พินิจอึ’ กันอยู่แล้ว

Read More…

The Most Unknown สุดยอดสารคดีวิทยาศาสตร์แห่งปี

The Most Unknown น่าจะเป็นสารคดีวิทยาศาสตร์ที่ลงทุนมหาศาลที่สุดเรื่องหนึ่งของโลก เพราะคือการนำนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำ 9 คน จากหลากหลายสาขาจากทุกมุมโลก มารวมกันไว้ในสารคดีเรื่องนี้เรื่องเดียว

Read More…

วิทยาศาสตร์ของมิตรภาพ : จากชีววิทยาวิวัฒนาการถึงอายุขัยของความเป็นเพื่อน

คุณเคยมีเพื่อนที่ ‘หาย’ ไปจากชีวิตไหมครับ

บางคนบอกว่า เมื่อคบใครเป็นมิตรสหายแล้ว มิตรภาพนั้นจะดำรงคงอยู่ไปชั่วฟ้าดินสลาย แต่เอาเข้าจริงแล้ว ความเป็นเพื่อนก็มีอายุขัยของมันอยู่นะครับ

Read More…

แมวดำในห้องมืด

สุภาษิตเก่าแก่บทหนึ่งบอกว่า-เป็นเรื่องยากที่จะหาแมวสีดำในห้องมืดพบ,

ฟังแค่นี้ หลายคนคงนึกตามว่า การหาแมวสีดำในห้องมืดนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยจริงๆ เพราะแมวนั้นปราดเปรียว หากไม่อยู่ในอารมณ์จะเคล้าแข้งเคล้าขา มันจะวิ่งหนีปรู๊ดปร๊าดหายไป ความมืดทำให้เราไม่รู้เลยว่ามันอยู่ตรงไหน และเป็นไปได้อย่างยิ่ง ที่มันจะไม่ได้นอนหลับนิ่งๆอยู่กับที่

ดังนั้น จึงมีโอกาสมากทีเดียว ที่เราจะใช้เวลาเท่ากับนิรันดร…ในการตามหาแมวสีดำตัวนั้นในห้องมืดจนพบ

แต่กระนั้น สุภาษิตบทนั้นก็ไม่ได้จบลงเพียงนั้น

มันยังมีต่อไปอีกนิด-ว่า,

…โดยเฉพาะเมื่อไม่ได้มีมีแมวอยู่ในห้องนั้น…

เมื่อได้ยินสุภาษิตบทนี้ครั้งแรกในหนังสือชื่อ Ignorance : How it Drives Science ของ Stuart Firestein ผมอดนึกขำอยู่ในใจไม่ได้ว่า มันช่างเป็นสุภาษิตที่ ‘หลอกลวง’ อะไรเช่นนั้น

Read More…

Why are we angry? วิทยาศาสตร์ของความหัวร้อน 

คุณเคยสงสัยไหมครับ ว่าทำอะไรทำให้เราเกิดอาการ ‘หัวร้อน’ ขึ้นมาได้?

ถ้าคุณถามใครสักคนว่าทำไมเขาถึงโกรธ คุณอาจได้รับคำตอบประเภท

“ก็มันมาด่าฉันก่อน” “ก็มันมาจอดรถขวาง” “ก็มันมาแกล้งฉัน” “ก็มันไม่ยอมทำตามคำสั่ง ฉันเป็นเจ้านายมันนะ” “ก็มันบิดเบือนความจริง” “ก็มันหมิ่นประมาทฉัน” ฯลฯ

เราพบว่ามี ‘คำอธิบาย’ ให้กับอาการหัวร้อน หัวฟัดหัวเหวี่ยง หรืออาการโกรธต่างๆ นานา เหล่านี้ได้หลากแบบ แต่ส่วนใหญ่เป็นคำอธิบายที่บอกถึงเหตุผลทางสังคมมากกว่า คำถามก็คือ แล้วในทางวิทยาศาสตร์ล่ะ มีคนมอง ‘ความโกรธ’ อย่างไรบ้าง มันมาจากไหน มีจุดกำเนิดที่ไหน

Read More…

วิทยาศาสตร์ของการมีอายุ 40s (และแถม 70S ให้นิดหน่อย)

‘ความสุข’ ของคนที่เข้าสู่วัย 40s นั้น ถ้าเอามาพล็อตเป็นกราฟ จะเป็นกราฟรูปตัว U คือเริ่มแรกก่อนเข้าวัย 40 ความสุขก็สูงดีอยู่ (สอดคล้องกับที่คุยให้คุณฟังไปในตอนที่แล้วว่าคนเราจะรู้สึกว่าตัวเองมีความสุขในวัย 35 ปี) แต่พอเข้าวัย 40 ปุ๊บ ความสุขก็เริ่มลดน้อยถอยลงในทันที

ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น และความสุขจะหวนกลับมาอีกได้หรือไม่

Read More…

วิทยาศาสตร์ของการมีอายุ 30s

คุณรู้สึกอย่างไรกับวัยสามสิบบ้างครับ

คงเป็นการเหมารวมมากเกินไป ถ้าจะบอกว่า วัยสามสิบเป็นวัยที่ดีที่สุดหรือแย่ที่สุด เพราะแต่ละคนคงมีประสบการณ์และการรับรู้ที่แตกต่างกันไป

อย่างไรก็ตาม การศึกษาบางชิ้นก็บอกว่า วัย 35 ปี ถือเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดหรือเป็น Best Age ของมนุษย์กันเลยทีเดียวนะครับ โดยคนเราจะไม่ได้มีความสุขอย่างแท้จริงหรอก จนกว่าจะอายุถึง 33 ปี

ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น?

Read More…

ความพยาบาทเป็นของหวาน? : วิทยาศาสตร์แห่งการแก้แค้น

ในนิยายเรื่อง ‘ล่า’ คำพูดหนึ่งของตัวละครที่ฮิตติดปากคนทั่วประเทศก็คือ – ความพยาบาทเป็นของหวาน

คำถามก็คือ คำพูดนี้หมายความว่าอย่างไรกันแน่ ความพยาบาทมี ‘รสชาติ’ หวานจริงหรือเปล่า และทำไมคนหลายคน (บางทีก็รวมทั้งตัวเราเองด้วย) ยามได้ ‘แก้แค้น’ แล้ว ถึงได้รู้สึกอิ่มอกอิ่มใจเหลือแสน

Read More…

วิทยาศาสตร์ของการมีอายุ 20s

ความเชื่อหนึ่งที่ไม่รู้เป็นการทำลายหรือส่งเสริมคนหนุ่มสาว ก็คือความเชื่อที่ว่า วัย 20s เป็นวัยที่ทรงพลังที่สุด เป็นวัยที่สามารถทำอะไรก็ได้ มองเห็นว่าโลกเป็นเรื่องสนุก มีเรื่องใหม่ๆ ท้าทายให้ลองทำอยู่ตลอดเวลา คนในวัยนี้เติบโตพ้นความเป็นเด็กแล้ว แต่ก็ยังไม่เติบใหญ่ถึงขนาดเริ่มมองเห็นความโรยราของอายุ ดังนั้น 20s จึงน่าสนใจ

แต่นั่นเป็น ‘ความเชื่อ’ ในทางสังคมทั่วๆไป คำถามก็คือ แล้วในทางวิทยาศาสตร์ล่ะ มองคนวัย 20s อย่างไร เราลองมาพิจารณากันเป็นข้อๆ ดูดีไหมครับ

Read More…