Communication Cycle: สื่อสารอย่างไรให้ถึงเป้าหมาย

หลายคนมีปัญหาว่าจะสื่อสารงานยากๆ ไปสู่ ‘สาธารณชน’ อย่างไรให้สนุก

คำตอบอยู่ในเรื่องพื้นฐานมากๆ นั่นก็คือ Communication Cycle หรือวงจรการสื่อสารนั่นเอง วงจรที่ว่าได้แก่

1. Passion : เลือกเรื่องที่เรามี passion กับมันจริงๆ หมายถึงเรื่องที่กระทบใจกระทบความรู้สึกของเราจริงๆมาสื่อสารก่อน ไม่ใช่เลือกเรื่องหนึ่งๆเพราะได้ทุนวิจัยมาเลยต้องพูด แบบนั้นยังไงก็ไม่สนุก

2. Clarify Your Aim : ดูให้ชัดว่า ‘เป้า’ ที่ตัวเราอยากพุ่งไปหาคืออะไร โดยยังไม่ต้องไปคำนึงถึง ‘เป้าหมาย’ เช่น ฉันมี passion เรื่องแบคทีเรีย จะทำใ้ห้คนเข้าใจเรื่องแบคทีเรียให้ได้ ก็ต้องทำให้ชัดว่าเป็นเรื่องไหนของแบคทีเรีย จะส่ง message อะไรออกไป

3. Compose + Encode : คือประกอบร่างสิ่งที่มีอยู่ขึ้นมา แต่ไม่ควรทำแบบทื่อๆตรงๆ ยัดเยียดให้คนต้องรู้ (แบบครูสอนนักเรียน) ให้ลองคิดการ ‘เข้ารหัส’ บางอย่าง คล้ายๆการอ่านเรื่องแต่ง เวลาคนถูกยั่วแบบนี้ก็จะอยากรู้ แล้วชวนให้ตามต่อด้วยตัวเอง

4. Transmit / Deliver : อันนี้คือการคิดถึง ‘เป้าหมาย’ ว่าหลังจากมี aim และ compose ออกมาแล้ว จะส่งไปหา ‘เป้ายหมาย’ (target) อย่างไร ซึ่งจะรวมไปถึงวิธีทำงานด้วย เช่น จะเขียน จะทำคลิป จะทำอินโฟกราฟิก แต่งเป็นเพลงแร็พ ฯลฯ โดยวิธีการจะต้องสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย

5. Receive Feedback : อันนี้พูดง่ายแต่ทำยาก คือการรับคำวิจารณ์ทั้งหลาย ส่วนใหญ่นักวิชาการชอบคิดว่าสิ่งที่ตัวเองทำนั้นถูกต้องรัดกุมแล้ว จึงมักฟังคำวิจารณ์เฉพาะจากผู้รู้ด้วยกันแบบ peer review เท่านั้น แต่ถ้าเปิดใจฟังคำวิจารณ์แบบ ‘บ้านๆ’ จาก layman ทั้งหลายบ้างก็จะทำให้เข้าใจการสื่อสารได้ดีขึ้น

6. Analyze / Decode : เอาคำวิจารณ์ทั้งหลายมาวิเคราะห์และ ‘ถอดรหัส’ อีกทีหนึ่ง เพื่อวนกลับไปที่การ Clarify Aim ของเราใหม่อีกครั้ง เพื่อการสื่อสารในครั้งต่อๆไปจะได้ดีขึ้นไปอีก

7. อันนี้ไม่เกี่ยวกับ Communication Cycle แล้วนะครับ แต่คิดว่าสำคัญมากๆเลย ก็คือการ ‘เชื่อมโยง’ ความรู้ในเรื่องต่างๆเข้าด้วยกัน เห็นเรื่องนี้แล้วคิดถึงเรื่องนั้น จากแมวถึงการเมือง กรีซถึงซานฟรานซิสโก อันนี้เป็นความสามารถที่จะทำให้คนเข้าถึงเรื่องที่เราจะสื่อสารได้ง่ายและสนุกขึ้น แต่นักวิชาการมักจะศึกษาแบบ ‘ลึก’ เรื่องเดียว ทำให้อยากสื่อสารเรื่องนั้นๆลึกลงไปอย่างเดียว เป็นการสื่อสารที่เป็นประโยชน์ในแวดวงวิชาการนะครับ แต่มักจะทำให้คนทั่วไป (สาธารณชน) ไม่ค่อยสนใจ เลยอาจถูกครหาว่าอยู่แต่บนหอคอยงาช้างได้