6 บทเรียนชีวิตจากเพลโต

เพลโตเป็นนักปราชญ์ชาวเอเธนส์ผู้ลือนาม มีชีวิตอยู่ในช่วงสามถึงสี่ร้อยปีก่อนคริสตกาล เขาก่อตั้ง The Academy ซึ่งเป็นสำนักปรัชญาที่สร้างพื้นฐานทางความคิดให้กับโลกตะวันตก เขาเขียนอะไรๆ ไว้มาก และต่อไปนี้เป็นบทเรียนเกี่ยวข้องกับชีวิตและการทำงานของเขา

1. การเริ่มต้นคือส่วนสำคัญที่สุดในการทำงาน : นี่อาจเป็นเรื่องที่ทุกคนรู้ แต่หลายคนไม่เคยทำได้ เพลโตบอกว่าเราต้องใส่ความอุตสาหะเข้าไปตั้งแต่ต้น รับรู้ถึงความสำคัญของการงานนั้นๆ แล้วสิ่งนั้นจะเป็นเครื่องนำทางการทำงานต่อไป

2. การเอาชนะตัวเองได้ คือชัยชนะแรกที่สูงส่งที่สุด : เราจำเป็นต้องเข้าใจถึงจุดแข็งและจุดอ่อนในตัวเรา เพื่อจะได้ควบคุมชะตากรรมของเราได้ – เพลโตบอกไว้อย่างนั้น นั่นแปลว่าเราต้อง ‘มองดู’ ตัวเองอย่างซื่อสัตย์ เพื่อจะได้เห็นตัวเองอย่างที่เราเป็นจริงๆ และจะได้เอาชนะอีโก้ของเราได้

3. ทำสำเร็จทีละเล็กละน้อย ดีกว่ารอคอยความสมบูรณ์แบบ : เอาเข้าจริงแล้ว ไม่มีงานไหนที่ ‘สมบูรณ์แบบ’ ร้อยเปอร์เซ็นต์ ถ้าเรามัวแต่นั่งรอความสมบูรณ์แบบ เป็นไปได้ว่าเราจะไม่มีวันทำงานนั้นๆ เสร็จสิ้นลงเลย อย่างที่พูดกันว่า Done is Better than Perfect นั่นแหละ

4. คนฉลาดพูดเมื่อมีสิ่งที่ต้องพูด คนโง่พูดเพราะต้องการพูดบางสิ่งออกมา : การพูดเป็นนายเรา ไม่มีใครฟังเราหรอกหากเราพูดเพราะเราคิดว่าต้องพูดโดยไม่ได้มีสารัตถะแห่งการพูดอยู่ในนั้น สิ่งที่คนฟัง ก็คือคุณค่าที่แฝงอยู่ในการสื่อสาร

5. เราวัดคุณค่าของมนุษย์ด้วยสิ่งที่เขาทำยามมีอำนาจ : เครื่องวัดคุณค่ามนุษย์ไม่ใช่ตัวอำนาจที่เขามี แต่คือสิ่งที่เขาทำยามที่มีอำนาจแล้วต่างหาก อำนาจทำให้คนหลงใหลจนมืดบอด มีแต่คนที่ควบคุมอำนาจเหนือตัวเอง (ไม่ใช่เหนือคนอื่น) ได้เท่านั้นที่มีคุณค่า

6. จงใช้ชีวิตเหมือนการเล่น : แม้แต่นักปราชญ์อย่างเพลโตก็ยังสอนเราว่าให้มีชีวิตเหมือนการเล่น ความจริงจังมากไปจะทำลายชีวิตและเหตุผลในการมีชีวิตอยู่